พลังงานชีวมวล คืออะไร

พลังงานชีวมวล คือพลังงานที่เกิดขึ้นมาจากการผลิตจากการนำเอาวัสดุชีวมวล หรือสารอินทรีย์ทุกรูปแบบ ที่ถือว่าเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ โดยที่จะมี ขยะอินทรีย์ เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกศตร กากจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม มูลสัตว์ พืชเชื้อเพลิง เช่น แกลบ ฟางข้าว ชาย้อย ใบ และยอดอ้อย ไม้ เศษไม้ เส้นใย และกะลาปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบ และกะละมาพร้าว นำสิ่งต่างๆ

เหล่านี้มาเข้ากระบวนการแปรรูป ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิธีแปรรูปต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการหมัก การผลิตก๊าซ หรือกรรมวิธีต่างๆ อีกมากมาย ที่ทำให้เกิดความร้อน หรือก๊าซ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ หรือแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ถือว่าเป็นวิธีที่มีการพูดถึงกันเพิ่มมากขึ้น เพราะอย่างที่ทุกคนทราบว่าเรื่องพลังงานไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยที่วันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับพลังงานชีวมวล ที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแน่นอน

พลังงานชีวมวล กับพลังงานชีวภาพ แตกต่างกันอย่างไร

คำถามที่หลายคนสงสัยมากที่สุดสำหรับ พลังงานชีวมวล กับพลังงานชีวภาพ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเรามักจะได้ยินคำว่าพลังงานชีวภาพมาตั้งแต่สมัยเรียน ส่วนพลังงานชีวมวลเป็นคำศัพท์ใหม่ที่เพิ่งจะได้ยินมาเมื่อไม่นานมานี้ จนทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่าพลังงานเหล่านี้เหมือนกันหรือเปล่า และถ้าไม่เหมือนมันจะแตกต่างกันอย่างไร โดยที่พลังงานชีวมวล กับพลังงานชีวภาพ จะมีข้อแตกต่างกันดังต่อไปนี้

  • รูปแบบของพลังงาน : พลังงานชีวภาพจะอยู่ในรูปแบบก๊าซเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากพลังงานชีวมวลที่จะมีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่า เช่นก๊าซ ของเหลว ความร้อน โดยที่จะขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตของแต่ละขั้นตอน
  • การผลิตพลังงาน : พลังงานชีวภาพจะเป็นขั้นตอนในการผลิตที่เกิดขึ้นมาจากกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ ซึ่งจะมีข้อแตกต่างระหว่างพลังงานชีวมวล ที่จะเป็นการนำเอาวัสดุมาแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการ หมัก เผา ผลิตก๊าซ และกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย
  • วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต : พลังงานชีวภาพจะเป็นการเน้นไปในเรื่องของการนำเอาพืชที่เป็นเชื้อเพลิง และผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด หญ้าเรเปียร์ และยังสามารถนำเอาขยะอินทรีย์จากครัวเรียน รวมไปถึงมูลสัตว์มาใช้ในการผลิตพลังงานได้เช่นเดียวกัน และส่วนของพลังงานชีวมวล จะเป็นการใช้พื้นเชื้อเพลิงเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือจะเป็นการเน้นไปที่การใช้พื้นเชื้อเพลิงชนิดมีเส้นใย มาเป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตมากกว่า

ไม่ว่าจะเป็นพลังงานชีวภาพ หรือพลังงานชีวมวล ก็ถือว่าเป็นรูปแบบการใช้งานที่มีประโยชน์ทั้งนั้น เพราะสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบที่หลากหลาย สามารถนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบ รวมไปถึงเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตได้อย่างไม่จำกัด และไม่หมดไปเหมือนพลังงานฟอสซิล ที่สำคัญพลังงานเหล่านี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย