โรค RSV กับ มือเท้าปาก โรคที่พ่อแม่ต้องระวังลูกน้อยให้ดี

โรค RSV กับ มือเท้าปาก มักจะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว เพราะเป็นช่วงที่อากาศเริ่มเย็น และมีความชื้นสูงทำให้เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น แพร่ขยายเชื้อได้ง่าย โดยโรคมือเท้าปากส่วนใหญ่จะระบาดในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 – 5 ขวบ เพราะเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงจึงติดเชื้อได้ง่าย หากเกิดในเด็กโตที่เริ่มมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นทำให้มีอาการก็จะไม่รุนแรงมากนัก ในส่วนของโรค RSV มักจะระบาดอยู่ 2 กลุ่มคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 – 5 ขวบ และกลุ่มของผู้สูงอายุ โรคสามารถติต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม และการสัมผัส หากเป็นโรคมือเท้าปาก สามารถติดผ่านทางตุ่มน้ำใสที่ออกตามบริเวณร่างกายได้เช่นกัน

สาเหตุของ โรค RSV กับมือเท้าปาก

ทั้งสองโรคนี้สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แต่เป็นไวรัสคนละชนิดโดยโรค โรค RSV จะเป็นไวรัส RSV ส่วนโรคมือเท้าปากจะมาจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม คอกซากีไวรัส เอ16 และเอนเทอโรไวรัส 71

ลักษณะอาการของทั้งสองโรคเป็นอย่างไร

อาการของ RSV กับมือเท้าปากจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยโรคมือเท้าปาก สามารถติดต่อได้ง่ายมาก เพียงแค่เด็กใกล้ชิดกันเล่นของเล่นด้วยกันก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว โดยอาการของโรคมือเท้าปาก จะมีตุ่มใสออกตามบริเวณที่มือ เท้า และปาก โดยเด็กจะรู้สึกเจ็บที่บริเวณปาก และในช่องปากเป็นอย่างมาก

สำหรับโรค RSV จะคล้ายโรคหวัด แต่หากเกิดในเด็กจะทำให้หลอดลมของเด็กมีอาการผิดปกติ เช่น มีน้ำมูก เสมหะ หายใจติดขัด และทำให้หอบเหนื่อย ถึงแม้จะมีการเสียชีวิตน้อยแต่ถ้าเป็น เด็กจะมีอาการที่ค่อนข้างทรมาน

โรค RSV กับ มือเท้าปาก สามารถป้องกันได้อย่างไร

ในปัจจุบันทั้ง 2 โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันด้วยเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันละอองน้ำลาย น้ำมูก จากการไอหรือการจาม หากเป็นเด็กอ่อนก็ให้ใช้ผ้าคลุมสำหรับรถเข็นเด็กอ่อน พยายามให้เด็กล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ การทำความสะอาดของเล่นก็ให้ใช้

โรค RSV กับ มือเท้าปาก ถือเป็นโรคที่พ่อแม่ควรต้องเฝ้าระวังให้ดีเพราะเด็กสามารถติดต่อกันได้ง่าย และมีอาการค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว ควรมีการป้องกันเป็นอย่างดี หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติก็ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้ในวัยผู้ใหญ่ก็ต้องใส่ใจเพราะโรค RSV ก็สามารถติดต่อได้ด้วยเช่นกัน