เป็นเรื่องปกติของทุกคนที่เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดออกมา ก็จะไปทำการกระตุ้มการผลิตไขมันในต่อมไขมัน จนทำให้เกิดผิวมัน รูขุมขนกว้าง จนทำให้เกิดเป็นสิวฮอร์โมนขึ้นมา โดยที่หลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่า สิวฮอร์โมน จะเกิดขึ้นได้เฉพาะผู้หญิงเพียงเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วสิวฮอร์โมน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แค่จะเกิดขึ้นบ่อยกับสาวๆ ที่ใกล้จะถึงช่วงมีประจำเดือน
โดยที่ส่วนใหญ่มักจะเจอในกลุ่มอายุ 15 – 18 ปี เพราะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือฮอร์โมนไม่สมดุล แต่นอกเหนือจากในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนแล้ว ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากความเครียดเช่นเดียวกัน โดยที่วันนี้เราจะพาทุกคนมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน ว่ามันคืออะไร และควรรักษาสิวด้วยวิธีไหนที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
สิวฮอร์โมน เกิดมาจากอะไร
สิวฮอร์โมน เกิดขึ้นมาจากการที่ร่างกายมีการปรับเปลี่ยนระดับฮอร์โมน หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน เพราะเมื่อมีปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจนที่สูงเพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ส่งผลให้มีการผลิตซีบัมออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปริมาณแบคทีเรียที่มากขึ้น หากเครติน ซีมบัม และแบคทีเรียมีปฏิกิริยารวมกัน ก็จะเกิดให้มีการอุดตันในรูขุมขน จนเป็นสาเหตุของสิวอุดตัน หรือในบางกรณีเมื่อมีการอุดตันของรูขุมขนที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการขยายตัวทำให้ท่อรูขุมขนเกิดการอักเสบ ก็จะทำให้มีโอกาสกลายเป็นสิวอักเสบได้นั่นเอง
สิวฮอร์โมน รักษาแบบไหน
สิวฮอร์โมน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สาวๆ ทุกคนน่าจะต้องเจอ โดยส่วนใหญ่การรักษาจะเป็นการใช้ยารักษาสิวฮอร์โมนที่อยู่ในกลุ่มละลายหัวสิว และฆ่าเชื้อสิว แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ และสารปรอท เพราะหลายคนคิดว่าสามารถรักษา และเห็นผลได้ดี และเห็นผลที่รวดเร็ว แต่จริงๆ แล้วสิวอาจจะหายไปในช่วงแรกเพียงเท่านั้น เพราะไม่นานหลังจากไม่ได้ใช้ยา สิวก็จะกลับมาเห่อใหม่อีกครั้ง ซึ่งการสิวฮอร์โมนที่ถูกต้องควรแบ่งเป็น 3 ชนิดหลักๆ ดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ : ยาปฏิชีวนะ จะเป็นยาที่ถูกสกัดมาเพื่อรักษาสิวโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าหากทานในปริมาณที่เยอะ และติดต่อกันเกินไป ก็อาจจะเกิดผลแทรกซ้อนได้
- ยาคุมกำเนิด : ยาคุมกำเนิดจะเป็นยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนผู้หญิง เอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจนติส จะสามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนลงได้ ส่งผลให้การผลิตไขมันจากต่อมไขมันลดลง
- ยากลุ่มวิตามินเอ : ยากลุ่มวิตามินเอ จะเป็นยาที่ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการสิวเห่อ และไม่ตอบสนองด้วยวิธีการรักษาใดๆ โดยตัวยาจะส่งผลให้ปากแห้ง ตาแห้ง การทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพียงเท่านั้น
สิวฮอร์โมน เป็นสิวที่มีระดับความรุนแรง และเป็นสิวเรื้อรัง เพราะการเป็นสิวฮอร์โมนไม่เพียงแค่เป็นแผล หรือแผลเป็นเพียงเท่านั้น เพราะอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยมากมาย เพราะฉะนั้นถ้าหากใครที่มีภาวะที่รุนแรง หรือดูแลรักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบเข้าพบ และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือคลินิกผิวหนัง เพื่อทำการตรวจสอบ และวางแผนการรักษาที่ถูกต้องมากที่สุด